การผลิตเหรียญทองคำและเงินของกลันตัน ในปี พ.ศ. 2553 ของ ดีนาร์กลันตัน

โรงกษาปณ์ World Islamic Mint ที่นครอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลกลันตันในการผลิตเหรียญชุดนี้

โดยเหรียญที่ได้รับการผลิตมีหน่วยเงินตราดังนี้:

โลหะเงิน 99.9% — 1, 2, 5, 10 และ 20 ดีร์ฮัม (dirham, درهم)โลหะทองคำ 22 กะรัต — 1/2, 1, 2, 5 และ 8 ดีนาร์ (dinar, دينار)

ด้านหน้าของเหรียญเป็นสัญลักษณ์ประจำรัฐกลันตัน, คำว่า "รัฐบาลกลันตัน" ในภาษามลายูและอังกฤษ, มูลค่าหน้าเหรียญ และ ‰ ของวัสดุ ส่วนด้านหลังเป็นอักษรวิจิตรภาษาอาหรับ มูลค่าที่ตราไว้มีดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555)[5]

โลหะทองคำ
มูลค่าหน้าเหรียญน้ำหนัก (กรัม)เส้นผ่าศูนย์กลาง (มม.)ราคาจ่ายแลก
1/2 ดีนาร์2.12516RM 387.00
1 ดีนาร์4.2521RM 774.00
2 ดีนาร์8.50022RM 1,548.00
5 ดีนาร์21.2525RM 3,870.00
8 ดีนาร์34.0032RM 6,192.00
โลหะเงิน
มูลค่าหน้าเหรียญน้ำหนัก (กรัม)เส้นผ่าศูนย์กลาง (มม.)ราคาจ่ายแลก
1 ดีร์ฮัม2.97522RM 25.00
2 ดีร์ฮัม5.95025RM 50.00
5 ดีร์ฮัม14.87532RM 125.00
10 ดีร์ฮัม29.75041RM 250.00
20 ดีร์ฮัม59.5050RM 500.00

เหรียญได้เปิดจำหน่ายในรัฐกลันตันในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย

เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลรัฐกลันตันโดยดาโตะ นิก อับดุล อาซิซ นิก มัต ซึ่งดำรงตำแหน่งเมินเตอรีเบอซาร์แห่งรัฐกลันตัน ได้รวบรวมและจัดพิธีแจกจ่ายซะกาตแก่ประชาชนเป็นเหรียญดีนาร์และดีร์ฮัมกลันตัน[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดีนาร์กลันตัน http://www.asiaone.com/News/AsiaOne+News/Malaysia/... http://www.dinarkel.com/katalog.php http://www.islamdag.info/news/1348 http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2006/5/... http://thestar.com.my/news/story.asp?file=/2010/9/... https://www.nydailynews.com/news/money/circulation... https://web.archive.org/web/20111106044646/http://... https://web.archive.org/web/20120805034339/http://... https://web.archive.org/web/20121017221935/http://... https://web.archive.org/web/20140301030924/http://...